ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ชื่อ:
กราฟิกโนเวล 2475 นักเขียนผีแห่งสยาม
ปีที่สร้าง:
พ.ศ. 2563
สถานะ:
คงอยู่
พิกัดสถานที่:

ความทรงจำของเราที่มีต่ออดีตมาจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย ทั้งหนังสือวิชาการ ตำราเรียน ความทรงจำที่สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อน ๆ แบ่งปันกับเรา ภาพวาด สารคดีที่ฉายทางโทรทัศน์ อนุสรณ์สถานที่เราพบเจออยู่รอบตัว หรือเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ แม้กระทั่งจากงานเทศกาลเฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญของชาติ อีกแหล่งที่มาสำคัญของความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ที่ทำงานอย่างทรงพลังในการสร้างกรอบความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของเรา ไม่ต่างจากภาพยนต์และนวนิยาย ก็คือ “นิยายภาพ” โดยนับตั้งแต่นิยายภาพเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของ Art Spiegelman เรื่อง "Maus" (ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี 1992) เป็นต้นมา นิยายภาพก็ได้กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมและยอมรับอย่างไม่เคยมีมาก่อนในฐานะสื่อที่มีพลังในการสะท้อนถึงทางเลือกและการตัดสินใจของบุคคลทางประวัติศาสตร์ในอดีต ตลอดจนความซับซ้อนของประวัติศาสตร์

ในช่วงต้นปี 2567 นิยายภาพเรื่อง “2475 นักเขียนผีแห่งสยาม” ได้รับการตีพิมพ์ในประเทศไทย นิยายภาพนี้เกิดขึ้นจาก พชรกฤต โตอิ่ม (เรื่อง) และ สอาด (เรื่องและภาพ) โดยในนิยายดำเนินเรื่องผ่านชีวิตของ "นิภา" หญิงสาวผู้ทำงานเป็นนักพิสูจน์อักษรในหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ในช่วงปีก่อนการปฏิวัติ 2475 ในฐานะ “นักเขียนเงา” นิภายังเป็นผู้เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคมและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยามหลายต่อหลายชิ้น ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของเธอในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสยามทำให้เธอได้พบกับกลุ่มคณะราษฎรในช่วงที่กำลังวางแผนปฏิวัติโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และวางวิสัยทัศน์สำหรับสยามหลังยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างไรก็ตาม เรื่องราวหลักมุ่งเน้นไปที่ตัวนิภา ทั้งในแง่มุมที่เธอต้องเผชิญกับการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ทั้งการหลอกลวงที่เธอพบเจอ และการเผยความมุ่งมั่นของเธอต่อการเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความรุนแรงและผู้คนที่ไม่เป็นมิตร

ในเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ฉบับทางการว่าด้วยกำเนิดการปกครองตามรัฐธรรมนูญในสยาม บทบาทของการปฏิวัติในปี 2475 และคณะราษฎรถูกลดทอนอย่างมีนัยยะสำคัญ เรื่องเล่าฉบับทางการนั้นเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเตรียมสยามให้พร้อมสำหรับการปกครองตามรัฐธรรมนูญและการมอบรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้แก่ประเทศ ในขณะที่นิยายภาพ 2475 กลับท้าทายเรื่องเล่านี้ แม้นิภาจะเป็นเพียงตัวละครสมมติ แต่การต่อสู้ของเธอก็เกิดขึ้นในบริบททางประวัติศาสตร์ซึ่งผู้เขียนนิยายภาพเรื่องนี้ได้สร้างขึ้นโดยอ้างอิงจากงานศึกษาเชิงทบทวนที่น่าประทับใจตลอดจนแหล่งข้อมูลร่วมสมัยหลายชิ้น ในการทำเช่นนี้ พวกเขาได้เผยแพร่เรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยในเชิงวิพากษ์ที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ในสำนวนของนิยายภาพนี้ การปกครองตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นจากความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และชนชั้นปกครอง เป็นเรื่องราวของการต่อสู้และบทบาทสำคัญของสื่อมวลชนเพื่อเรียกร้องความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องราวของการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญจากการสนับสนุนส่งเสริมโดยสถาบันกษัตริย์ ในตอนท้ายของนิยายภาพ ภายใต้บรรยากาศคล้ายฝัน นิภาได้ทำการสะท้อนผลลัพธ์ของการปฏิวัติ 2475 โดยในขณะที่ด้านหนึ่ง การปฏิวัติได้นำพาสยามเข้าสู่ยุคใหม่ในหลายด้าน แต่ในอีกด้านเธอก็ยังเศร้าใจที่เสรีภาพทางการเมืองยังคงเป็นเป้าหมายที่ยังไม่บรรลุ การปฏิวัติ 2475 ยังคงเป็นการปฏิวัติที่ยังไม่เสร็จสิ้น ด้วยเหตุนี้ นิยายภาพจึงสร้างความรู้สึกของความต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น เป็นภาพความต่อเนื่องของการต่อสู้เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมืองในประเทศไทยในทศวรรษ 2560 ที่มีความเชื่อมโยงและเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมืองที่ยาวนานมาตั้งแต่การปฏิวัติ 2475

รูปภาพ

ยุคที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๗ ถึง ปัจจุบัน

คลิปวิดีโอ

พิกัดสถานที่